เครื่องพิมพ์แบบไหนที่เหมาะกับฉลากของท่าน
การพิมพ์ฉลากเพื่อใช้เองในอุตสาหกรรมเป็นสิ่งที่จะช่วยกิจการประหยัดต้นทุนการผลิตและประหยัดเวลาได้ แต่เครื่องพิมพ์ฉลากแบบไหนที่เหมาะกับกิจการของท่าน สิ่งแรกที่ควรเข้าใจคือความแตกต่างกันระหว่างเครื่องพิมพ์แต่ละแบบในเทคโนโลยีการพิมพ์แบบต่างๆ
อะไรคือความแตกต่างหลักๆสำหรับเครื่องพิมพ์ขนาดเล็กที่นำมาใช้พิมพ์ฉลากในปัจจุบัน ในปัจจุบันเทคโนโลยีที่นำมาใช้สำหรับเครื่องพิมพ์ขนาดเล็กที่ใช้พิมพ์ฉลากมีหลักๆอยู่ 3 เทคโนโลยีคือ Water Based Inkjet (WBIJ), Electrophotographic (EP) และสุดท้ายคือ Thermal Transfer (TT). ไม่มีเทคโนโลยีการพิมพ์ใดที่จะเหมาะกับทุกรูปแบบการพิมพ์ฉลาก ซึ่งเรามาลองดูข้อดีและข้อเสียของทั้ง 3 เทคโนโลยีการพิมพ์

1)Electrophotographic (EP) เริ่มต้นมาจากการถ่ายเอกสาร เทคโนโลยี EP หรืออาจจะเรียกว่าเทคโนโลยี LED ซึ่งให้ผลลัพธ์คือความรวดเร็วและการดูแลรักษาที่ง่าย ซึ่งเทคโนโลยีในการพิมพ์ปัจจุบันต่างจากการถ่ายเอกสารแบบเดิมที่ใช้การฉายแสงกระทบเอกสารต้นฉบับจนเกิดเป็นรูป แต่ในปัจจุบันได้ใช้เลเซอร์หรือ LED เพื่อนำมารับข้อมูลจากคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลที่ได้รับจากคอมพิวเตอร์จะส่งไปที่หัวพิมพ์เลเซอร์หรือ LED ที่จะทำหน้าที่พิมพ์รูปภาพลงไปที่ดรัมหรือสายผานที่มีงานพิมพ์อยู่ ในส่วนของสีนั้นงานพิมพ์แบบนี้จะใช้สีโทนเนอร์ (Toner) ซึ่งสามารถเป็นได้ทั้งหมึกน้ำและหมึกผง ซึ่งหมึกผงแบบแห้งจะนิยมใช้ในการพิมพ์บนเครื่องพิมพ์สำนักงานทั่วไปส่วนแบบน้ำจะนิยมใช้ในเครื่องพิมพ์ดิจิตอลขนาดใหญ่ตามโรงพิมพ์ ในส่วนหมึกผงจะมีส่วนประกอบของเม็ดโพลีเมอร์ซึ่งภายในจะมีผงหมึกขนาดเล็ก ซึ่งจะมาทำปฎิกิริยากับฟิวส์ที่หัวพิมพ์จนถ่ายโอนภาพลงไปที่งานพิมพ์ โดยเทคโนโลยีการพิมพ์แบบ EP จะให้ประโยชน์ในการที่สามารถพิมพ์สีขาวได้ควบคู่ไปกับการพิมพ์ CMYK ซึ่งจะทำให้สามารถพิมพ์ได้ถึง 5 สี และงานพิมพ์ที่ได้ก็จะมีความทนทานต่อของเหลวและ UV ได้ดีกว่าการ
> รายละเอียดเครืองพิมพ์ฉลากแบบม้วนระบบโทนเนอร์ QL300 <

2) Water-Based & Pigment-Based Inkjet (WBIJ) เป็นเทคโนโลยีที่มีใช้ในเครื่องพิมพ์ขนาดเล็กที่อยู่ตามบ้านและออฟฟิสมานาน ด้วยจุ่นเด่นในความคมชัดและสีสันที่สดใส จึงทำให้เทคโนโลยีอิงค์เจทมาใช้ในการพิมพ์ฉลากสินค้าด้วยเช่นกัน ซี่งในปัจจุบันเทคโนโลยีอิงค์เจทสามารถมาเป็นตัวเลือกให้กิจการที่ต้องการพิมพ์ฉลากเอง และด้วยการพัฒนาในเทคโนโลยีอิงค์เจททำให้ในปัจจุบันมีการใช้งานเครื่องพิมพ์อิงค์เจทหลากหลายมากขึ้น ซึ่งการทำงานของเครื่องพิมพ์อิงค์เจทคือการพ่นหยดหมึกเล็กๆไปที่งานพิมพ์จนเกิดรูป ซึ่งรูปที่งานพิมพ์จะเกิดขึ้นจากหยดหมึกเล็กๆรวมตัวกันจนเป็นภาพ ซึ่งคุณภาพของเครื่องพิมพ์ที่ดีคือการที่สามารถหยดหมึกขนาดเล็กๆได้ในปริมาณที่มาก ซึ่งเราวัดได้ด้วย Dot Per Inches หรือ DPI ในส่วนหมึกที่ใช้จะเป็นหมึกน้ำ 4 สี CMYK ในส่วนประกอบสามารถเป็นได้ทั้งหมึกน้ำที่มาจากผงเป็นส่วนประกอบหลัก (Pigment-Based Inkjet) หรือหมึกน้ำที่มาจากของเหลวเป็นส่วนประกอบหลัก (Water-Based Inkjet) ซึ่งในความแตกต่างที่ได้คืองานพิมพ์ที่ได้จากหมึกน้ำที่มีส่วนผสมของผงเป็นส่วนประกอบหลักจะให้ความคงทนต่อของเหลว แสงยูวีและการขีดข่วนมากกว่าหมึกน้ำที่มาจากของเหลวเป็นส่วนประกอบหลัก แต่จะให้ความละเอียด, ความสวยงามและสีสันสดใสน้อยกว่าหมึกน้ำที่มาจากของเหลวเป็นส่วนประกอบหลัก เป็นเพราะส่วนนึงหมึกน้ำที่มาจากผงจะมีผงเล็กๆอยู่ช่องว่างระหว่างโมเลกุลหมึกทำให้ความละเอียดและสีสันที่ได้ด้อยกว่าหมึกน้ำที่มาจากของเหลว
> เครื่องพิมพ์ฉลากแบบม้วนรุ่น T2C <

3) Thermal Transfer เป็นระบบการพิมพ์ที่เก่าแก่ที่สุด เครื่องพิมพ์ที่ใช้เทคโนโลยีนี้จะเป็นการพิมพ์สีเดียว เป็นระบบการพิมพ์ที่รวดเร็ว ประหยัด และเหมาะสมอย่างยิ่งสำหรับงานสีเดียวจำพวกข้อมูลสินค้า วันที่หมดอายุ บาร์โคด แต่เพราะการพิมพ์สีเดียวทำให้การใช้งานเครื่องพิมพ์ในระบบ Thermal Transfer จะเป็นฉลากจำเพาะส่วนใหญ่ซึ่งไม่ตอบสนองการใช้งานในกรณีต้องการพิมพ์ฉลากที่จำเป็นต้องใช้เครื่องพิมพ์ 4 สี ประโยชน์อื่นๆของการพิมพ์แบบ Thermal คือการที่การพิมพ์แบบนี้สามารถพิมพ์สี Metallic ได้โดยเฉพาะสีทอง สีเงิน หรือแดงและน้ำเงินเงาและสี Metallic อื่นๆ นอกจากนี้การพิมพ์แบบ Thermal ยังผ่าน UL Standard และสามารถพิมพ์ฉลากแบบ Multi-Layer ได้เช่นกัน
ขั้นตอนถัดไป หลังจากที่ได้ตระหนักถึงจุดเด่นและจุดด้อยของเทคโนโลการพิมพ์ทั้ง 3 แบบแล้ว จากนี้ท่านสามารถเริ่มกำหนดความต้องการเบื้องต้น สำรวจว่าฉลากของท่านมีความต้องการแบบไหน ทนต่อของเหลวได้ระดับไหน ใช้งานภายนอกหรือภายในอาคาร หรือหากไม่มั่นใจท่านสามารถติดต่อสอบถามมาที่บริษัท เทคโน โกลบอล กราฟฟิกส์ ตามที่อยู่ด้านล่าง ทางเรายินดีให้คำแนะนำสำหรับกิจการที่ต้องการเริ่มต้นพิมพ์ฉลากใช้เองในอุตสาหกรรมเพื่อตอบโจทย์ทุกความต้องการ
|